ระบบการเล่น ของ เดอะซิมส์ 2

ชาวซิมส์

ชาวซิมส์สามารถทำงาน แต่งงาน เข้าโรงเรียน เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน และอื่น ๆ อีกมากมายได้

ชาวซิมส์ยังมีโอกาสได้พบประสบการณ์จากเหตุการณ์เหนือความจริงต่าง ๆ เช่นการเห็นผี การถูกมนุษย์ต่างดาวจับตัวไปซึ่งเป็นเหตุให้ผู้ชายตั้งครรภ์ได้ หรือมียมทูตที่ชื่อ กริม รีพเพอร์ มารับชาวซิมส์ที่เสียชีวิต

ช่วงอายุ

ชาวซิมส์มีวิวัฒนาการ 6 ช่วงอายุ คือ ทารก วัยเด็กหัดเดิน วัยเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ และวัยชรา (ในภาคเสริม มหาลัยวัยฝัน มีช่วงอายุวัยมหาลัยเพิ่มขึ้นมา ซึ่งจะเป็นเฉพาะชาวซิมส์ที่เข้ามหาวิทยาลัย) ชาวซิมส์จะเสียชีวิตเองเมื่ออายุขัยในวัยชรา ซึ่งช่วงอายุขัยในวัยชรากำหนดโดยค่าคะแนนปณิธานตอนเริ่มแรกที่ย่างเข้าสู่วัยชรา ชาวซิมส์ยังเสียชีวิตได้ด้วยสาเหตุอื่น ๆ ได้อีก ส่วนวัยเด็กอาจถูกนักสังคมสงเคราะห์จับตัวไปถ้าความต้องการลดลงต่ำ ช่วงอายุที่แตกต่างจะมีสิ่งที่ท้าทายที่แตกต่างเช่นกัน เช่นการลดลงของความต้องการด้านความสะดวกสบายของวัยชรา วัยเด็กไม่สามารถทำอาหารได้ การกระทำที่คาดเดาไม่ได้ของวัยเด็กหัดเดิน และการคอยดูแลเด็กทารกตลอดเวลา เมื่อชาวซิมส์คลอดเด็ก เด็กที่เกิดจะเป็นวัยทารก ซึ่งเราจะไม่สามารถเลือกวัยนี้ได้ในโหมดสร้างครอบครัว เราจะต้องมีเด็กชาวซิมส์เกิดขึ้นเองในระหว่างการเล่นเกม==== ตัวละคร ====ounเกม เดอะซิมส์ 2 มีละแวกเพื่อนบ้านกำหนดมาให้ นั่นคือ เพลสเซินท์วิว สเตรนจ์ทาวน์ และเวโรนาวิลล์ และยังมีละแวกเพื่อนบ้านอื่น ๆ ที่เพิ่มเข้ามาในภาคต่อมา ชาวซิมส์ที่เกมสร้างไว้แล้วในละแวกเพื่อนบ้านต่างก็มีเรื่องราวและประวัติความเป็นมา เพลสเซินท์วิวเป็นละแวกเพื่อนบ้านหลักที่มีมาตั้งแต่เดอะซิมส์ภาคแรก มาจนเดอะซิมส์ 2 และจะเห็นในเดอะซิมส์ 3 แต่ละละแวกเพื่อนบ้านจะมีเรื่องราวที่โดดเด่น ตัวอย่างตัวละครชาวซิมส์มากมายที่เกมกำหนดมาให้ เช่น คาสซานดร้า กอธ แดเนียล เพลสเซินท์ และเจนนิเฟอร์ เบิร์บ เป็นต้น

ความต้องการ

ชาวซิมส์ดำเนินชีวิตได้โดยค่าความต้องการต่าง ๆ มากที่สุดถึง 8 ด้าน ขึ้นอยู่กับช่วงวัย ความต้องการที่มีแน่ชัดทุกช่วงวัย ได้แก่ การขับถ่าย คือจะแสดงเป็นแถบมิเตอร์ซึ่งจะเปลี่ยนจากสีเขียว (เต็มเปี่ยม) ไปถึงสีแดง (สิ้นหวัง) ชาวซิมส์ที่มีแถบมิเตอร์ความต้องการลดลงจะแสดงจะหาทางกระทำบางอย่างเพื่อให้ แถบความต้องการเติมเต็ม (ตัวอย่างเช่น ถ้ามิเตอร์ความหิวลดลงต่ำ ชาวซิมส์จะเปิดตู้เย็นและหาของกินเอง หรือผู้เล่นอาจบังคับให้ชาวซิมส์ทำอาหารก็ได้) เมื่อแถบมิเตอร์ความต้องการด้านใดหมดหรือกลายเป็นสีแดงอาจเป็นเหตุให้เกิด การกระทำต่าง ๆ ชาวซิมส์ที่ความต้องการด้านพลังงานหมดก็จะเป็นลม ชาวซิมส์วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ หรือวัยชราที่มีค่าความหิวหมดก็จการด้านใดหมดหรือกลายเป็นสีแดงอาจเป็นเหตุให้เกิด การกระทำต่าง ๆ ชาวซิมส์ที่ความต้องการด้านพลังงานหมดก็จะเป็นลม ชาวซิมส์วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ หรือวัยชราที่มีค่าความหิวหมดก็จะเสียชีวิต ความต้องการเหล่านี้จะส่งผลโดยรวมกับระดับอารมณ์ของชาวซิมส์ ที่จะสังเกตเห็นได้จากเพชรที่ประดับบนหัวของชาวซิมส์ (เรียกว่า พลัมบ็อบ) แถบมิเตอร์ความต้องการของวัยทารก (มีเพียง สังคม ความหิว ขับถ่าย สุขอนามัย และพลังงาน) จะไม่ปรากฏให้เห็นเหมือนวัยอื่น แต่สีที่ฉากหลังของรูปภาพชาวซิมส์ที่ด้านซ้ายจะบอกว่าเป็นสีแดง (สิ้นหวัง) เหลือง (ต่ำ) หรือเขียว (เต็มเปี่ยม)

นักสังคมสงเคราะห์

เมื่อชาวซิมส์เลี้ยงดูเด็ก ๆ ได้ไม่ดีพอ ปล่อยให้พวกเขามีค่าความต้องการตกต่ำนานเกินไป นักสังคมสงเคราะห์จะแวะมาหาและนำตัวเด็ก ๆ ทุกคนไปจากที่อยู่อาศัย เด็ก ๆ อาจถูกนำตัวไปถ้าผู้เล่นปล่อยเขาให้อยู่ในที่อยู่อาศัยตามลำพัง และนักสังคมสงเคราะห์จะแวะมาหาอีกถ้าเด็ก ๆ ไม่สนใจการเรียนเท่าที่ควร หรือพวกเขาอยู่ในที่ที่มีอากาศร้อนหรือหนาวเย็นมากเกินไป (เกิดขึ้นในภาคเสริม สี่ฤดูแสบ) ในภาคเสริม สนุกจังยามว่าง จะอนุญาตให้ชาวซิมส์ขอร้องไม่ให้นักสังคมสงเคราะห์นำตัวเด็กไป และเด็ก ๆ ก็จะไม่ถูกนำตัวไป ถ้าเด็ก ๆ ถูกนำตัวไป ผู้เล่นจะถูกห้ามไม่ให้รับบุตรบุญธรรมอย่างถาวร ชาวซิมส์สามารถฆ่านักสังคมสงเคราะห์หรือเปลี่ยนให้เป็นวัยทารกหรือเด็กหัด เดินได้โดยใช้สูตรโกงหรือ โปรแกรมเสริม Third-Party ถ้าเด็ก ๆ เหล่านั้นอยู่ไกลจากตัวนักสงคมสงเคราะห์ เช่น ถูกขังไว้ในห้อง นักสังคมสงเคราะห์จะมีพลังลึกลับที่สามารถทำให้เด็กหายตัวไปอยู่ที่รถได้ ชาวซิมส์วัยเด็ก วัยเด็กหัดเดิน และวัยทารก จะปลอดภัยจากเหตุไฟไหม้ และจะไม่อดตายถ้าไม่ใช้สูตรโกง ถ้าผู้เล่นพยายามจะนำตัวเด็ก ๆ เหล่านั้นไปอยู่ใกล้ ๆ เปลวไฟที่ลุกไหม้ ความต้องการจะลดลงอย่างมากแต่จะไม่ถึงตาย

บุคลิกภาพ

บุคลิกภาพ จะเป็นตัววัดลักษณะนิสัยของชาวซิมส์ โดยมีด้วยกัน 5 ด้านที่ผู้เล่นจะเลือกได้โดยการจัดแบ่ง ตัวอย่างเช่น ชาวซิมส์จะกระตือรือร้น หรือขี้เกียจ หรือจะเป็นกึ่งกลางระหว่างความกระตือรือร้นกับขี้เกียจ ค่าเหล่านี้จะเป็นตัวบอกว่าชาวซิมส์จะเรียนรู้ทักษะได้เร็วแค่ไหน อัตราการลดลงของค่าความต้องการ รูปแบบของปฏิกิริยาที่ชาวซิมส์เกี่ยวข้อง ความเป็นไปได้ในปฏิกิริยาและการพาเพื่อนมาจากที่ทำงาหรือที่โรงเรียน ชาวซิมส์ทุกคนจะพูดคุยกันในภาษาที่เรียกว่า ซิมลิช ซึ่งเป็นภาษาที่สร้างขึ้นจากคำที่ไม่มีความหมาย แต่มีความหมายที่แสดงเป็นนัยได้ผ่านจากโทนเสียงและท่าทาง[7]

สายอาชีพ

ชาวซิมส์วัยเด็กและวัยรุ่นจะไปโรงเรียนในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ การทำการบ้านเสร็จและระดับอารมณ์จะส่งผลต่อเกรด (เกรดที่สูงจะทำให้เขาได้รับเงินรางวัลหรือทักษะ) พ่อแม่ของเขาอาจสมัครให้เด็กเข้าเรียนโรงเรียนเอกชนได้เมื่อมีจากความสำเร็จ ในการเลี้ยงอาหารมื้อเย็นให้กับอาจารย์ใหญ่ การขาดเรียนทำให้เกรดตกต่ำลง ถ้าเกรดของชาวซิมส์วัยเด็กต่ำมากเกินไป นักสังคมสงเคราะห์ก็จะปรากฏตัวและนำตัวเด็กไป แต่ถ้าเป็นวัยรุ่น พวกเขาจะไม่ถูกนำตัวไปแต่จะถูกไล่ออกจากงานนอกเวลาเรียน ชาวซิมส์จะหางานได้จากคอมพิวเตอร์หรือหนังสือพิมพ์ วัยรุ่นก็เช่นกัน ชาวซิมส์ที่ไปทำงานด้วยระดับอารมณ์ที่ดีและมีจำนวนเพื่อนที่ต้องการและระดับ ทักษะสำหรับสายอาชีพครบจะได้เลื่อนตำแหน่ง แต่ละสายอาชีพจะมีตำแหน่งงาน 10 ตำแหน่งและมีเงินเดือนเพิ่มขึ้น แต่ละตำแหน่งจะมีการเปลี่ยนเครื่องแบบแต่งกาย ชั่วโมงทำงานและวันทำงานต่อสัปดาห์ รวมถึงรถประจำตำแหน่งด้วย นอกจากนี้ยังมีตัวเลือกสำหรับการลาป่วย ที่ชาวซิมส์สามารถหยุดงานได้ แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าชาวซิมส์โกหก พวกเขาจะพบกับผลร้ายที่ตามมา เช่นการไล่ออกจากงาน หรือถูกลดตำแหน่ง

มีสายอาชีพมากมายเช่น นักกีฬา นักธุรกิจ นักการเมือง ทหาร นักกฎหมาย นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ และในภาคเสริมมหาลัยวัยฝัน สี่ฤดูแสบ และสนุกจังยามว่าง ยังมีสายอาชีพใหม่ ๆ เพิ่มเข้ามาอีก เมื่อได้เลื่อนขั้นมาถึงตำแหน่งสูงจะสามารถปลดล็อกของรางวัลแห่งอาชีพได้ ซึ่งมีประโยชน์ต่อการฝึกทักษะที่จำเป็นต่อสายอาชีพนั้น ๆ เมื่อถึงวัยชรา ชาวซิมส์อาจปลดเกษียณ และได้รำเงินบำนาญ จำนวนเงินบำนาญจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสายอาชีพและตำแหน่งงานขณะที่ปลดเกษียณ วัยรุ่นและวัยชราอาจหางานรับจ้างทำ แต่จะมีเพียง 3 ตำแหน่งงานเท่านั้นในแต่ละสายอาชีพ และจะได้รับเงินเป็นหนึ่งในสามหรือครึ่งหนึ่งของเงินที่ผู้ใหญ่ได้รับ นอกจากนี้ ในภาคเสริมเปิดโลกธุรกิจ เนรมิตฝัน ชาวซิมส์ยังสามารถเปิดธุรกิจที่บ้านและสามารถเปิดร้านในพื้นที่ส่วนกลางที่ซื้อไว้ได้ด้วย

ความปรารถนาและความกลัว

สิ่ง ใหม่ที่เพิ่มเข้ามาในเดอะซิมส์ 2 อย่างหนึ่งคือแถบมิเตอร์ปณิธาน ซึ่งดูคล้ายกับความพอใจในตนเองหรือความพอใจในชีวิต ขณะที่เป็นวัยเด็กหัดเดินและวัยทารก จะมีปณิธานแห่งการเติบโต แต่เมื่อโตขึ้นเป็นวัยรุ่น ผู้เล่นจะต้องเลือกให้ชาวซิมส์เป็นปณิธานใดปณิธานหนึ่งจาก 5 ปณิธานหลัก เช่น ปณิธานแห่งครอบครัว (เป็นมิตรกับคนในครอบครัว แต่งงาน และมีลูก) ปณิธานแห่งความร่ำรวย (ความมั่งคั่งและชื่อเสียงเกียรติยศ) ปณิธานแห่งความรู้ (การพัฒนาทักษะและประสบการณ์ชีวิต) ปณิธานแห่งชื่อเสียง (สร้างเพื่อนและเข้าสังคม) และปณิธานแห่งรักโรแมนติค (มีความสัมพันธ์และทำปฏิสัมพันธ์แบบโรแมนติคหลายครั้ง) ในภาคเสริม ไนท์ไลฟ์ คืนหรรษา มีปณิธานใหม่เพิ่มเข้ามาคือ ปณิธานแห่งความพึงพอใจ (ต้องการใช้ชีวิตอย่างสนุกสนาน) และมีปณิธานลับที่เรียกว่าปณิธานแห่งเนยแข็งย่าง (ต้องการกินเนยแข็งย่างมากเท่าที่จะกินได้) ซึ่งจะมีได้เมื่อใช้ของรางวัลปณิธานที่ชื่อ เรนูยู เซนโซ (เมื่อใช้ในความปรารถนาตกต่ำ) หรือเป็นปณิธานรองในภาคเสริม สนุกจังยามว่าง

ชาว ซิมส์แต่ละคนมีความปรารถนาและความกลัวที่สอดคล้องกับปณิธาน ช่วงวัยของเขาและเหตุการณ์ปัจจุบัน เมื่อความปรารถนาบรรลุผล เช่น ได้เพื่อนใหม่ ระดับคะแนนปณิธานจะเพิ่มขึ้น แต่ในทางกลับกัน ถ้าสิ่งที่กลัวเป็นจริง เช่น คนรักตาย ระดับคะแนนปณิธานจะลดลง โดยระดับคะแนนปณิธานจะมีทั้งหมด 6 ระดับ คือระดับทองคำขาว (สูงที่สุด) ทองคำ สีเขียว 2 ระดับ และสีแดงอีก 2 ระดับตามลำดับ และระดับคะแนนนี้จะลดลงเล็กน้อยทุก ๆ 2-3 ชั่วโมงในเกม

ชาวซิมส์ที่ ระดับคะแนนปณิธานอยู่ที่ทองคำขาว จะควบคุมง่าย และจะทำตามคำสั่งแม้เป็นสิ่งที่เขาไม่ชอบ ชาวซิมส์ที่ระดับคะแนนปณิธานอยู่ที่สีแดงจะเสียสติ และต้องการการบำบัดจากนักจิตวิทยาที่ ชาวซิมส์คนอื่นจะมองไม่เห็น ระดับคะแนนปณิธานจะเป็นตัวกำหนดอายุขัยของชาวซิมส์วัยชราก่อนตาย ถ้าชาวซิมส์คนนั้นพัฒนาวัยขึ้นด้วยดี มีระดับคะแนนปณิธานสูง ที่หลุมฝังศพหรือโกศเถ้ากระดูกจะดูดีกว่าระดับอื่น ๆ

คะแนนปณิธานทั้งชีวิตของชาวซิมส์จะถูกเกมบันทึกไว้ และนำคะแนนนี้ไปแลกซื้อสิ่งของพิเศษที่ให้ผลที่โดดเด่น เรียกว่า ของรางวัลปณิธาน เช่น สิ่งของที่จัดหาเงินมาให้ฟรี ๆ หรือขยายช่วงอายุขัยได้ แต่จะใช้ได้ผลเมื่อระดับปณิธานอยู่ที่ทองคำขาวหรือทองคำเท่านั้น ถ้าไม่ โอกาสความสำเร็จในการใช้สิ่งของเหล่านี้จะลดลง และผลข้างเคียงที่ไม่ดีอาจเกิดขึ้นได้[8]

ในภาคเสริม สนุกจังยามว่าง จะมีแถบมิเตอร์ปณิธานใหม่คือ ปณิธานตลอดชีวิต เพิ่มเข้ามา เมื่อชาวซิมส์ผ่านเหตุการณ์สำคัญในชีวิตเช่น แต่งงาน หรือมีเด็กเกิดในบ้าน พวกเขาจะได้เพิ่มระดับปณิธานตลอดชีวิตนี้และในทุก ๆ ส่วนที่บรรลุถึงจะทำให้ผู้เล่นได้รางวัล เช่น การเลือกปณิธานรอง การที่ระดับมิเตอร์นี้ขึ้นสูงสุดจะทำให้ชาวซิมส์มีระดับคะแนนปณิธานทองคำ ขาวอย่างถาวร ที่ทำได้โดยเติมเต็มระดับปณิธานตลอดชีวิต ซึ่งเกี่ยวข้องกับความปรารถนาอันยาวนาน เช่น ได้ทำงานถึงตำแหน่งสูงสุด หรือมีลูกตามจำนวนที่ตั้งไว้

ความสัมพันธ์

ความ สัมพันธ์เชิงโรแมนติคนั้นเกิดขึ้นได้หลายวิธี การเกี้ยวชาวซิมส์คนอื่นโดยไม่คำนึงถึงเรื่องเพศสัมพันธ์ จะทำให้เขาแอบปิ๊งและตกหลุมรักในที่สุด ซึ่งยอมให้ชาวซิมส์ที่สนิทสนมกันแสดงปฏิกิริยาเช่นความรัก ชาวซิมส์ยังสามารถรักษาความสัมพันธ์นี้ไปเรื่อย ๆ หรือแต่งงานกัน (เรียกว่า "อยู่ร่วมกัน" สำหรับคู่รักเพศเดียวกัน) ชาวซิมส์ที่เป็นฝ่ายขอแต่งงานหรือเข้ามาอยู่ด้วยจะไม่เปลี่ยนนามสกุล ขณะที่ชาวซิมส์ที่ไม่ได้เป็นฝ่ายขอจะเปลี่ยนนามสกุลเป็นของคู่สมรส ในส่วนที่เพิ่มเข้ามาในภาคเสริม ไนท์ไลฟ์ คืนหรรษา ชาวซิมส์สามารถออกเดทกันได้ รวมถึงการมีปฏิสัมพันธ์แบบโรแมนติคด้วยกัน ชาวซิมส์ยังมีความสัมพันธ์กับคนอื่น ที่ทำได้โดยวิธีดึงดูดชาวซิมส์อีกฝ่าย ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับบุคลิกภาพ ปณิธาน และรูปร่างหน้าตา มีการหึงหวงเมื่ออีกฝ่ายไปเกี้ยวกับคนอื่น ชาวซิมส์อาจมีการหึงหวงซึ่งเป็นเหตุให้โกรธกับอีกฝ่ายและซิมส์อีกคนนั้น มีความเป็นไปได้ว่าชาวซิมส์จะต่อสู้ พูดแดกดัน หรือทำให้รำคาญ พวกเขายังสามารถเลิกกันได้ด้วยถ้าค่าความสัมพันธ์ของพวกเขาตกดิ่งลงมาใน ระดับหนึ่ง

ความตาย

ชาว ซิมส์สามารถตายได้หลายวิธี เมื่อชาวซิมส์มีอายุถึงช่วงปลายของวัยชรา เขาจะตายเพราะโรคชรา ขึ้นอยู่กับชาวซิมส์ขณะที่ตายมีระดับบคะแนนปณิธานถึงทองคำขาวหรือทองคำหรือ ไม่ ยมทูต หรือ กริม รีพเพอร์ จะมาพร้อมกับสาวฮูล่า 2 คนและนำตัวชาวซิมส์ชราคนนั้นไป และมีหลุมศพที่ขอบประดับด้วยหินอ่อนขึ้นมาเป็นที่อยู่ของชาวซิมส์ที่ตาย ชาวซิมส์อาจพบจุดจบที่ไม่คาดฝันได้หลายวิธีเช่น การถูกไฟฟ้าดูด, การถูกฟ้าผ่า, ถูกลูกเห็บตกใส่หัว, ถูกจานบินชน, ไฟคลอก, อดอาหาร, ป่วย, จมน้ำ หรือถูกฝูงแมลงวันตอม ฯลฯ ในภาคเสริมต่อ ๆ มาได้มีการเพิ่มสาเหตุการตายเข้ามาอีกด้วย ชาวซิมส์ที่ตายจะเหลือไว้เพียงหลุมศพเมื่ออยู่นอกอาคาร หรือโกศ เมื่ออยู่ในอาคาร ถ้าในที่อยู่อาศัยนั้นมีความทรงจำเกี่ยวกับคนตายนั้นอยู่ วิญญาณจะตามมาหลอกหลอนคนในที่อยู่อาศัย วิญญาณอาจทำให้ชาวซิมส์ตกใจกลัว และอาจตายได้ สีของวิญญาณจะขึ้นอยู่กับสาเหตุการตายของวิญญาณตนนั้น ชาวซิมส์วัยทารกและวัยเด็กหัดเดินจะไม่มีสาเหตุการตาย

เมื่อมีชาวซิมส์ตาย ครอบครัวและเพื่อนของชาวซิมส์ที่ตายจะได้รับเงินประกัน ซึ่งมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับค่าความสัมพันธ์กับชาวซิมส์ที่ตาย ถ้าไม่มีชาวซิมส์เหลืออยู่ในที่อยู่อาศัย เงินที่ได้จากคนตายจะไม่มีเกิดขึ้น และที่อยู่อาศัยนั้นก็จะถูกนำไปดำเนินการขาย และนำเฟอร์นิเจอร์เก่า คนในครอบครัวที่ผ่านความทรงจำเกี่ยวกับความตายของคนรักจะโศกเศร้าเสียใจมาก จนล้มตัวลงพื้นและเกิดอาการเสียสติจนต้องมีนักจิตบำบัดมาบำบัดอาการนี้ ถ้าชาวซิมส์คนนั้นถูกเลือก จะมองเห็นนักจิตบำบัดได้ แต่ถ้าเป็นคนอื่น จะเห็นว่าชาวซิมส์คนนั้นกำลังพูดคุยอยู่กับตัวเอง

หลังจากชาวซิมส์ตาย จะไม่มีตัวเลือกของชาวซิมส์คนนั้น วิญญาณคนตายจะถูกนำออกไปโดย NPC ยมทูตที่ ชื่อ กริม รีพเพอร์ ชาวซิมส์ที่ตายอาจถูกช่วยชีวิตไว้ได้จากการตายทุกประเภท ยกเว้นแก่ตาย ถ้ามีเพื่อนมาขอร้องให้ช่วยชีวิตคนตายไว้ ซึ่งโอกาสสำเร็จก็ขึ้นอยู่กับค่าความสัมพันธ์ที่มีกับชาวซิมส์ที่ตาย ยมทูตในเกมเดอะซิมส์ 2 จะดูเหมือนผีมากขึ้น เนื่องจากไม่มีขาและลอยได้ เขาจะมีเสื้อคลุมยาวที่ตัดไม่เสร็จสมบูรณ์ ไม่มีอะไรอยู่ในผ้าคลุมและมีโครงกระดูกที่มองเห็นได้

ยมทูต จะมาเมื่อมีชาวซิมส์ตายและมีหลุมศพหรือโกศเกิดขึ้นมา ที่ตรงจุดนี้ชาวซิมส์ที่ควบคุมได้คนอื่นสามารถขอร้องยมทูตให้ช่วยชีวิตคนตายได้ การขอร้องส่งผลให้มีการท้าทายกันระหว่างยมทูตกับคนที่ขอร้อง ซึ่งขึ้นอยู่กับโอกาสในเกม ถ้าชาวซิมส์คนที่ขอร้องมีค่าความสัมพันธ์กับคนตายสูง พวกเขาจะชนะและชาวซิมส์ที่ตายจะฟื้นคืนชีพอีกครั้ง เมื่อไม่มีคนตายในที่อยู่อาศัยแล้ว กริม รีพเพอร์ จะนำโทรศัพท์มือถือสีม่วงออกมากดเบอร์โทรศัพท์ และพูดคุยโต้เถียงกับอีกฝ่ายก่อนจะหายตัวไปกับลำแสงสีขาว

ในภาคเสริม ร่วมหอ (ไม่) ลงโรง เราสามารถทำให้ชาวซิมส์ที่ตายฟื้นคืนชีพได้เป็นชาวซิมส์ปกติ ถ้าเราเป็นแม่มดฝ่ายดี แต่ถ้าเราเป็นแม่มดฝ่ายไม่ดี ชาวซิมส์ที่ฟื้นจะกลายเป็นซอมบี้แทน

สามารถใช้ตะเกียงจินี หรือ The Resurrect-O-Nomitron เพื่อฟื้นคืนชีพคนตายได้ และการตายมีทั้งหมด 18 แบบ

การจบเกม

ถ้าชาวซิมส์ในที่อยู่อาศัยทุกคนเสียชีวิตไปจนหมด หรือไม่มีชาวซิมส์คนใดอาศัยอยู่อีก ในเกมเดอะซิมส์ 2 นี้จะถือว่าเป็น เกมโอเวอร์ หรือการจบเกมนั้น ๆ เวลาในเกมจะหยุด โหมดตัวเลือกตัวละครจะถูกปิด และจะเกิดข้อความขึ้นมา โดยให้คำแนะนำว่าจะทำอย่างไรต่อไปกับที่อยู่อาศัยนั้น[9]

ตัวละครอื่น ๆ

ในเกมเดอะซิมส์ 2 นั้นมีชาวซิมส์หลายประเภท ดังนี้

  • ชาวเมือง (ผู้มาเยือน) : พวกเขาเป็นตัวละครที่ผู้เล่นไม่สามารถควบคุมได้หรือ NPC แต่จะควบคุมได้ก็ต่อเมื่อพวกเขาเข้ามาอยู่ร่วมกับครอบครัวชาวซิมส์หรือเมื่อพวกเขาเป็นวัยรุ่นที่จะไปเรียนมหาวิทยาลัย ชาวซิมส์เหล่านี้จะมีรูปร่างลักษณะเหมือนกับชาวซิมส์ที่ควบคุมได้ ตั้งแต่ในภาคเสริม ไนท์ไลฟ์ คืนหรรษา เป็นต้นมา พวกเขาจะมีอาชีพและบุคลิกภาพเหมือนกับชาวซิมส์ที่ควบคุมได้ เว้นแต่เพียงว่าพวกเขาจะไม่ได้อาศัยอยู่เป็นหลักแหล่งเท่านั้น พวกเขาจะแวะเยี่ยมที่ชุมชนหรือที่อยู่อาศัยและมีปฏิสัมพันธ์ได้เหมือนชาวซิมส์อื่น ๆ ชาวเมืองในภาคเสริม ตัวโปรดจอมป่วน นี้จะรวมถึงสุนัขและแมวด้วย นอกจากนี้ยังมีกลุ่มชาวเมืองที่มีรูปลักษณ์เป็นเอกลักษณ์ เช่น บิ๊ก ดีว่า สลอบ แกรนด์แวมไพร์ เชียร์ลีดเดอร์ และมาสคอต
ยังมีชาวเมืองอีกประเภทหนึ่งที่เป็นลูกจ้าง หรือพนักงานที่ผู้เล่นสามารถเลือกใช้บริการได้เช่น การจ้างงานบริการ (เช่น แม่บ้าน นักจัดสวน ช่างซ่อม เป็นต้น) บริการรับ-ส่งสิ่งของ (เช่น หนังสือพิมพ์ จดหมาย เสบียงอาหาร พิซซ่า และอาหารจีนในภาคเสริม มหาลัยวัยฝัน) หรือบริการพลเมือง (เช่น ตำรวจ ตำรวจดับเพลิง นักสังคมสงเคราะห์ พนักงานยึดทรัพย์ อาจารย์ใหญ่ และบริการรับเลี้ยงบุตรบุญธรรม
  • ตัวละครอัตโนมัติ : ตัวละครพวกนี้จะเป็นตัวละครที่ปรากฏขึ้นอัตโนมัติ ไม่สามารถควบคุมได้ ในเดอะซิมส์ 2 ภาคหลัก ตัวละครเหล่านี้คือ กริม รีพเพอร์ (ยมทูต) นักจิตบำบัด" "กระต่ายสังคม และหุ่นยนต์พอลลิเนชัน เทคนิเชียน หมายเลข 7 ในภาคเสริมหลาย ๆ ภาคต่อมาได้มีตัวละครใหม่เช่นในชุดเสริม Holiday Party Pack เพิ่มซานตาคลอส "ฟาเธอร์ไทม์" และ "เบบี้นิวเยียร์" ในภาคไนท์ไลฟ์ คืนหรรษา เพิ่ม มิสซิสครัมเปิลบอทท่อม เธอเป็นที่รู้จักดีในหมู่ชาวซิมส์หัวรุนแรงด้วยกระเป๋าถือของเธอ เธอยังกลับมาในภาคเสริม สี่ฤดูแสบ ซึ่งถ้าชาวซิมส์ได้รับพรไม่ดีจากบ่อน้ำให้พร เธอจะโผล่ขึ้นมาจากบ่อน้ำเพื่อเยี่ยมเยียนในที่อยู่อาศัยของชาวซิมส์คนนั้น และในภาคเสริม ทริปซ่าส์ ได้มี นักต้มตุ๋นน่ารังเกียจ ที่จะล้วงกระเป๋าชาวซิมส์ ถ้าชาวซิมส์จับได้ ชาวซิมส์สามารถแจ้งตำรวจและตำรวจจะต่อสู้กับเขา
  • สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ : ตัวละครเหล่านี้สามารถควบคุมได้และชาวซิมส์ยังเปลี่ยนร่างเป็นสิ่งมีชีวิตนี้ได้ด้วย พวกนี้จะเป็นชาวซิมส์ที่เป็นร่างเป็นสิ่งมีชีวิตในตำนานและมีความสามารถ พิเศษและพฤติกรรมประหลาด นอกจากวิญญาณที่ไม่สามารถควบคุมได้ และมนุษย์ต่างดาวที่เป็นชาวซิมส์ปกติที่มีลักษณะแปลก (ตัวสีเขียว และตาสีดำ) ในภาคเสริมหลายภาคได้มีการเพิ่มสิ่งมีชีวิตใหม่ เช่น ซอมบี้ แวมไพร์ หุ่นยนต์เซอร์โว มนุษย์หมาป่า มนุษย์ต้นไม้ซิมส์ ไอ้ตีนโต และพ่อมด แม่มด เป็นต้น

ละแวกเพื่อนบ้าน

ที่ หน้าจอเริ่มต้นเกม ผู้เล่นจะเลือกเข้าละแวกเพื่อนบ้านที่มีไว้ให้เลือกมากมาย ในภาคหลักจะมีให้เลือก 3 ละแวก คือ เพลสเซิลวิลล์ เวโรนาวิลล์ และสเตรจทาวน์ อีกทั้งยังมีตัวเลือกสร้างละแวกเพื่อนบ้านของเราขึ้นมาเองอีกด้วย ละแวกเพื่อนบ้านแต่ละละแวกจะประกอบด้วยละแวกเพื่อนบ้านย่อย ซึ่งแยกออกจากกัน ชาวซิมส์ไม่สามารถย้ายหรือติดต่อกับชาวซิมส์ในละแวกเพื่อนบ้านอื่นได้

ภาคเสริมบางตัวได้เพิ่มละแวกเพื่อนบ้านย่อย ที่ชาวซิมส์สามารถแวะไปเที่ยวได้ในเหตุการณ์ต่าง ๆ เดอะซิมส์ 2 มหาลัยวัยฝัน เพิ่มพื้นที่ที่เป็นมหาวิทยาลัย ซึ่งมีให้เฉพาะชาวซิมส์ที่เป็นวัยมหาลัยเท่านั้น ชาวซิมส์สามารถอาศัยอยู่ในบ้านพัก หอพัก หรือสมาคมกรีกในพื้นที่นั้นได้ เดอะซิมส์ 2 ทริปซ่าส์ เพิ่มพื้นที่ที่เป็นสถานที่พักร้อน ซึ่งชาวซิมส์สามารถพักอาศัยอยู่ในโรงแรมหรือบ้านพักตากอากาศได้ เราอาจสร้างมันขึ้นมาเองหรือเล่นจากที่มากับเกมก็ได้

แต่ละละแวกเพื่อนบ้านจะมีที่ว่างสำหรับที่อยู่อาศัยหรือพื้นที่ส่วนกลาง และสิ่งที่เพิ่มมาใหม่ในเดอะซิมส์ 2 ร่วมหอ (ไม่) ลงโรง คืออพาร์ตเมนต์ ที่อาศัยหลังเดียวกับเพื่อนบ้านที่อาจก่อให้เกิดเสียงดังรบกวนและเจ้าของอพาร์เมนต์

พื้นที่อาคาร โหมดซื้อ และโหมดสร้าง

จากหน้ามุมมองละแวกเพื่อนบ้าน ผู้เล่นจะเลือกเล่นสถานที่หนึ่งแห่งเช่นเดียวกับในเดอะซิมส์ภาคแรก ซึ่งจะมีที่อยู่อาศัยและพื้นที่ส่วนกลาง ชาวซิมส์จะอาศัยในที่อยู่อาศัย และสามารถออกมาเที่ยวในพื้นที่ส่วนกลางเพื่อซื้อเสบียงอาหาร เสื้อผ้า และนิตยสาร รวมถึงการปฏิสัมพันธ์กับชาวเมือง

ผู้เล่นสามารถเลือกเล่นในที่อยู่อาศัยที่สร้างไว้แล้ว เคลื่อนย้ายครอบครัวไปไว้ในที่อยู่อาศัย หรือก่อสร้างอาคารบ้านเรือนขึ้นมาในพื้นที่ว่าง ซึ่งเป็นคุณสมบัติเดิมที่มีมาตั้งแต่เดอะซิมส์ภาคแรกแล้ว

ผู้เล่นจะเลือก สลับโหมดได้ระหว่างโหมดชีวิต เพื่อควบคุมชาวซิมส์ โหมดซื้อ เพื่อเพิ่ม เคลื่อนย้าย หรือลบสิ่งของ หรือโหมดสร้างเพื่อปรับปรุงแต่งเติมที่อยู่อาศัย สำหรับโหมดซื้อและโหมดสร้างในพื้นที่อยู่อาศัยจะถูกล็อกไว้เมื่อชาวซิมส์แวะ ไปที่นั้น ๆ แต่จะสามารถใช้งานได้เมื่อเข้าจากมุมมองละแวกเพื่อนบ้านโดยตรง

มินิเกม

ตัวเกมยังมีสิ่งที่ท้าทายเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกัน ซึ่งถ้าทำสำเร็จจะได้รางวัล ชาวซิมส์สามารถจัดงานปาร์ตี้เพื่อได้รับคะแนนปณิธาน หรือการเชิญอาจารย์ใหญ่มาเลี้ยงอาหารมื้อเย็นเพื่อนำเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนเอกชน นอกจากนี้ ในภาคเสริมต่อ ๆ มายังมีมินิเกมใหม่เพิ่มเข้ามา เช่น การสมัครเข้าสมาคมกรีกในภาคมหาลัยวัยฝัน หรือการออกเดทในภาคไนท์ไลฟ์ คืนหรรษา ซึ่งในภาคไนท์ไลฟ์ คืนหรรษานี้ การออกเดทแต่ละครั้งจำเป็นต้องทำให้ชาวซิมส์ทั้งสองฝ่ายมีความสุขทั้งคู่มาก เท่าที่เป็นไปได้ โดยการตอบสนองความปรารถนาของแต่ละฝ่ายเพื่อสะสมคะแนนปณิธาน

ละแวกเพื่อนบ้านที่มีมาให้

ในเกมเดอะซิมส์ 2 แมกซิสได้สร้างละแวกเพื่อนบ้านไว้ 3 ละแวก คือ เพลสเซินท์วิว สเตรนจ์ทาวน์ และเวโรนาวิลล์ ในภาคเสริมต่อมาได้มีละแวกเพื่อนบ้านใหม่เพิ่มเข้ามาด้วย เช่น ริเวอร์บลอสซั่มฮิลล์ ในภาคเสริม สี่ฤดูแสบ เดซิเดอเรต้า วาลเลย์ ในภาคเสริม สนุกจังยามว่าง และ เบลลาดอนน่า โคฟ ในภาคเสริม ร่วมหอ (ไม่) ลงโรง รวมถึงละแวกเพื่อนบ้านย่อย บลูวอเทอร์วิลเลจ ที่มากับภาคเสริม เปิดโลกธุรกิจ เนรมิตฝัน และ ดาวน์ทาวน์ ในภาคเสริม ไนท์ไลฟ์ คืนหรรษา ในภาคเสริมบางภาคได้มีการเพิ่มส่วนเสริมพิเศษหรือเพื่อนบ้านใหม่พร้อมข้าวของเครื่องใช้ แต่ละละแวกเพื่อนบ้านจะมีพื้นที่สำหรับสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ชาวซิมส์อาศัยอยู่ในที่อยู่อาศัยและอาจต่อเติมตกแต่งที่อยู่อาศัย และไปเยี่ยมพื้นที่ส่วนกลาง ที่มีสิ่งสันทนาการต่าง ๆ เช่น สระว่ายน้ำ และร้านขายของ

เพลสเซินท์วิว เป็นละแวกเพื่อนบ้านที่มีตัวละครมากมายจากเดอะซิมส์ภาคแรก สเตรนจ์ทาวน์มีชาวซิมส์ที่เป็นมนุษย์ต่างดาวรวมถึงชาวซิมส์ปกติ และเวโรนาวิลล์จะมีชาวซิมส์ที่อ้างอิงจากผลงานของเชกสเปียร์ โดยเฉพาะ A Midsummer Night's Dream (นามสกุลของครอบครัวนั้นคือ ซัมเมอร์ดรีม) และ โรมิโอกับจูเลียต เวโรนาวิลล์เป็นเมืองที่มีฉากเป็นละคร และตัวละครก็มีนามสกุลตามบทละคร ตัวอย่างเช่น ครอบครัวที่ไม่ถูกกันระหว่าง แคปป์ และมอนตี้ ละแวกเพื่อนบ้านนี้ยังมีตัวละครที่มาจากละครเรื่อง The Tempest King Lear และ Much Ado About Nothing อีกด้วย

ละแวกเพื่อนบ้านที่เพิ่มมากับภาคเสริมจะจำลองส่วนเพิ่มเติมจากภาคเสริมต่าง ๆ กล่าวคือ ริเวอร์บลอสซั่มฮิลล์จะมีสวน และสภาพอากาศ ภูมิประเทศมีลักษณะเหมือนฟาร์ม และบ้านส่วนใหญ่จะดูเหมือนบ้านไร่นา (ฟาร์มเฮ้าส์) เดซิเดอเรต้า วาลเล่ย์ จะมีพื้นที่ส่วนกลางใหม่ เช่น สมาคมลับซึ่งเจาะจงเฉพาะสำหรับงานอดิเรกต่าง ๆ ของชาวซิมส์ เบลลาดอนน่า โคฟ เพิ่มบ้านที่เป็นบ้านพักหรืออพาร์ตเม้นท์ รวมถึงโลกเวทมนตร์ ส่วนบลูวอเทอร์ วิลเลจ ซึ่งเป็นละแวกเพื่อนบ้านย่อยนั้นจะมีในทุกละแวกเพื่อนบ้านหลัก เช่นเดียวกับดาวน์ทาวน์ บลูวอเทอร์ วิลเลจจะมีกลุ่มธุรกิจเล็ก ๆ ที่ชาวซิมส์ซึ่งทำขึ้นโดยชาวซิมส์ในละแวกเพื่อนบ้านนั้น

ใกล้เคียง

เดอะซิมส์ เดอะซิมส์ 2 เดอะซิมส์ (ชุดวิดีโอเกม) เดอะซิมส์ 4 เดอะซิมส์ 3 เดอะซิมส์ คาถามหาสนุก เดอะซิมส์ 2 ชุดไอเท็มเสริม เดอะซิมส์ ฟรีเพลย์ เดอะซิมส์ 3: เวิลด์แอดเวนเจอรส์ เดอะซิมส์ 3: เล็ตไนต์

แหล่งที่มา

WikiPedia: เดอะซิมส์ 2 http://www.baagames.com/2014/07/ea-give-the-sims-2... http://money.cnn.com/2005/07/28/technology/persona... http://help.ea.com/en/article/the-sims-2-ultimate-... http://thesims.ea.com/us/sims2/sims2_pressrelease.... http://thesims2.ea.com/100million/index.php http://thesims3.ea.com/view/pages/newsItem.jsp?ite... http://www.gamerankings.com/htmlpages2/914811.asp http://www.gamespot.com/news/2005/07/22/news_61296... http://www.gamespot.com/pc/strategy/simslivinlarge... http://www.gamespot.com/pc/strategy/thesims2/previ...